Kris Tajong with Zoomorphic Carved Wooden Hilt
Kelantan, Malaysia or Patani, Southern Thailand
19th century
length: 47.5cm, weight: 507g
The kris tajong with its zoomorphic, long-nosed hilt (hulu) is synonymous with the Malays of the East Coast of the Malay Peninsula - the
Kelantan-Terengganu-Pattani region. According to Noor & Khoo (2003, p. 120) originally, the shape of the hilt was based on a representation of the Hindu
god Shiva, as it was adapted for the god's characterisation in the Wayang Kulit shadow puppet plays that were staged by Malay communities. Through the
centuries and with the conversion of the Malays to Islam, the form became more stylised and more zoomorphic. Facial features were replaced by carved floral
flourishes and so on.
This excellent example has a plain scabbard, straight pamor blade, and a masterfully carved zoomorphic hilt.
The kemuning wood hilt is very finely carved with daun ketumbit motifs to the cheeks and body which is also carved with tajong spiral motifs. The head is
thrust forwards and the open mouth grimaces with expectation. The nose is up-tilted.
The cross-guard is made from ketengga wood, and has been used in such a way as to highlight its beautiful, striped grain.
The polished brass cup (pendokok) that is at the base of the hilt is engraved with petal motifs but is a later replacement.
The blade fits perfectly and tightly in the scabbard with little movement and no gaps.
The blade is of significant age and probably later than the 19th century. The scabbard and hilt clearly are 19th century and have a fine patina. There is an
old, small repair to the tip of the nose of the hilt and some minor loss to some of the carving detail to a small section of one side of the head. But overall, the
condition is fine and the wood has a clear and obvious rich patina.
Michael Backman
محمد لازم چيءقوب
เครื่อราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่มาของบรรดาศักดิ์ชั้นดาโต๊ะในมาเลเซียยังมีแจกกันทุกๆปีทุกๆรัฐไม่ยกเว้นสี่รัฐที่ไม่มีเจ้าผู้ครองรัฐอย่างปีนัง มะละกา ซาบาห์และซาราวัก ส่วนในระดับที่แจกโดยพระราชาธิบดีนอกเหนือจากดาโต๊ะก็มีชั้นตันศรีและตุน พ่วงมาอีก พอได้บรรดาศักดิ์มาแล้วความยุ่งยากในเรื่องโปรโตคอลหรือพิธีการก็พ่วงเข้ามา จากคนธรรมดาๆคนหนึ่งที่เพื่อนเรียกชื่อมามะเฉยๆ ในงานพิธี เมื่อมีบรรดาศักดิ์ ดาโต๊ะ ตันศรี ตุน ก็ต้องเปลี่ยนเป็นดาโต้ะมามะ ตันศรีมามะ ตุนมามะ ในงานที่เป็นพิธีการ ที่เป็นทางการก็ต้องมีคำนำหน้าให้เกียรติประมาณ "ฯพณฯ" ตามด้วยบรรดาศักดิ์ แล้วตามด้วยชื่ออย่างไม่ขาดตกบกพร่อง กลายเป็น Yang Berbahagia Dato Mamat ไปซะงั้น รูปย่อของ Yang Berbahagiaคือ Ybhg. Berbahagia มาจากรากศัพท์ Bahagia ที่แปลว่าความสุข โรงพยาบาลจิตตเวชแห่งหนึ่งในรัฐเปรัก ตั้งชื่อซะโก้หรูว่าโรงพยาบาล Bahagia เอ้าลูกเอา
ในภาษามลายู คำว่า ท่าน ฯพณฯ ที่ใช้กันอยู่มีกันหลายคำทำให้สิ้นเปลืองหน่วยความจำในสมองไปหลายเมกาไบต์เลยทีเดียว ในระดับอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการอย่างนายอำเภอหรือในระนาบเดียวกัน หากท่านๆเหล่านั้นยังมิได้รับบรรดาศักดิ์ชั้นดาโต้ะ คำเรียกนำหน้าอย่างเป็นทางการก็ก็ต้องเริ่มด้วย Yang Berusaha ตามด้วย Tuan ถ้าไปฮัจย์แล้วก็ใส่ ฮัจยีลงไปแล้วก็ตามด้วยชื่อตัว กลายเป็น Yang Berusaha Tuan Haji Mamat รูปย่อของ Yang Berusahaคือ Ybrs.
แล้วอยู่ๆจับพลัดจับพลู เกิดนายมามะ ดาโต้ะมามะ ตันศรีมามะ ตุนมามะ ที่ว่านี่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาระดับรัฐ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือถูกแต่งตั้งเป็น สมาชิกวุฒิสภา ประธานสภานิติบัญัญัติของรัฐ ปธ.สภาผู้แทนราษฎร และ ปธ วุฒิสภา คำนำหน้าชื่อก็จะกลายเป็น Yang Berhormat ตามด้วยบรรดาศักดิ์ แล้วก็ตามด้วยชื่อตัว กลายเป็น Yang Berhormat (Dato, Tansri, Tun ) Mamat,รูปย่อของ Yang Berhormat คือ Yb.
ยังไม่จบแค่นั้นครับ หากมามะเป็นผู้ที่มีเชื้อเจ้าในระดับ Tengku, Tunku, Raja แล้วไปมีตำแหน่งทางการเมืองตามที่ได้กล่าวมาแล้ว โปรโตคอลเขาระบุว่า ห้ามใช้ Yang Berhormatน่ะจ๊ะ เด่วแบตเตอรี่จะเสื่อม ต้องนำหน้าด้วย Yang Berhormat Mulia Tengku (Tunku, Raja) Mamat. รูปย่อของ Yang Berhormat Mulia คือ Ybm.
ยัง.... ยังไม่จบครับ เกิดนายมามะก้าวหน้าไปอีกขั้น ถูกเลือกให้ดำรงตำแหน่งสูงสุดในระดับรัฐ คือตำแหน่งมุขมนตรี ในระดับชาติคือตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี คำนำหน้าเดิมๆที่ใช้กับนักการเมืองทั่วไป เขาห้ามใช้กับท่านมามะแล้ว ระดับนี้ต้องใช้ Yang Amat Berhormat (ย่อ YAB)กลายเป็น Yang Amat Berhormat (Dato, Tansri, Tun ) Mamat ยังไม่จบอีก มีคำถามมาว่า ถ้าหากท่านมามะเป็นเชื้อเจ้าล่ะ แล้วถูกแต่งตั้งเป็นมุขมนตรี รองนายก นายกรัฐมนตรี การเรียกนำหน้าชื่อจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่? เปลี่ยนซิครับ จาก Yang Amat Berhormat Mamat เดิมๆก็จะเปลี่ยนเป็น Yang Amat Berhormat Mulia Tengku ( Tunku, Raja ) Mamat
แล้วถ้ามามะเพื่อนเราแขวนปากจากการเป็นนักการเมือง แล้วโชคดีบุญหล่นทับถูกแต่งตั้งไปเป็นผู้ว่าการหรือผู้สำเร็จราชการในสี่รัฐที่ไม่มีเจ้าล่ะ คำนำหน้านามจะเปลี่ยนอีกไม่? แฮ่ะๆๆ เปลี่ยนอีกครับ ให้เรียกท่านว่า Tuan Yang Terutama ตามด้วยบรรดาศักดิ์แล้วตามด้วยชื่อตัว กลายเป็น Tuan Yang Terutama Tun Mamat ผู้ที่มาดำรงตำแหน่งนี้ส่วนมากจะได้รับบรรดาศักดิ์ชั้นสูงสุดคือ Tun กันเป็นส่วนใหญ่ รูปย่อของ Tuan Yang Terutama คือ TYT
Keris Tajong kemegahan orang Patani
Suatu ketika dahulu orang Patani yang membekalkan ilmu serta kemahiran berkenaan dengan Keris Tajong kepada Melayu serantau. Sekarang roda-roda sudah berputar, orang yang satu ketika dahulu menerima, sekarang bertukar menjadi pemberi maklumat berkenaan dengannya
คุยเรื่องกริช
กริชตาจงที่ลือนาม เป็นของปาตานีล้วนๆ แต่วันนี้คนที่มาคุยเรื่องกริชตาจงให้คนปาตานีฟัง กลับกลายเป็นคนกลันตันตันที่เป็นผู้รับรับเอากริชตาจงจากปาตานี — with Ahmed Zhaini, Mohamad Noor Awang Kechik and อับดุลฮันนาน มาหะมะ.
Pameran keris dan busana atau Kerissana selain mempamer keris dan busana, ianya juga merupakan acara himpunan Melayu serantau, dari 3 wilayah sempadan selatan Thai, Malaysia dan juga Singapura
See Translation
— with Muhaimin Hasbollah, Nggantheng, Baan Songthai Sathorn and ณรงค์ กริชทองคำ.
Bala ในภาษามลายู
มาทำความเข้าใจภาษาจากภาพกันน่ะครับ
Bala ในภาษามลายูเป็นศัพท์ที่ยืมมาจากสองภาษาใหญ่ ยืมกันมาต่างกรรมต่างวาระ ทั้งนี้และทั้งนั้น ก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากอิทธิพลทางศาสนา มันเป็นแพ้คคู่ ก็เลยต้องรับอิทธิพลทางภาษาเข้ามาด้วย ไม่ว่าจะเป็นภาษาสันสกฤตผ่านทางศาสนาฮินดู และภาษาอาหรับที่มาพร้อมกับอิสลาม
Bala แรกคือที่รับมาจากสันสกฤตที่มาพร้อมกับฮินดู เช่น bala tentera ในภาษาไทยก็ประมาณ พลตนตระ Bala หรือที่ไทยใช้ว่า พล ก็คือกำลัง หรือ force ประมาณนั้น ในภาพประกอบนั้น หากเราจะใช้ bala tentera Melayu กองกำลังทหารมลายู ก็จะใช้ได้เลย
Bala ที่สอง คือที่รับมาจากภาษาอาหรับ เช่น
1. Bala ที่แปลว่าเภทภัยต่าง
2. Bala ที่ใช้ในความหมาย Biarkan หรือช่าง(หัว)มัน คนปาตานีกลันตันมักจะใช้กันบ่อย เช่นพูดออกมาว่า บือลาหรือบาลา บือลา กอ ดียอ หรือ บาลา กอ ดียอ
3.Bala ที่ใช้ในความหมาย bahkan ภาษาไทยน่าจะแปลว่า แม้น แม้นว่า (ไม่ใช่ใอ้แม้นกับอีแม้น) ประมาณนี้ครับ ไม่ค่อยมั่นใจนัก
แถมอีกนิดคือบาลาในสำเนียงถิ่นปตานีกลันตัน (กลาง Balai )ที่หมายถึงพาไลในภาษาที่ไทยใช้ และบาลาที่แปลว่าเผือกในกรณีของควายเผือก ส่วนช้างเผือก จะไม่ใช้บาลาครับ
แค่นี้ก่อนครับ คืนวันศุกร์ จงใช้ Bala ที่ยืมจากสันสกฤตให้คุ้ม แต่อย่าผิดที่ ไม่งั้นจะได้ Bala ที่ยืมจากภาษาอาหรับมาแทนบนหัว — with Mahamasabree Jehloh, Hamdi Hamzah, Shahar Tajong Stk, Jamal Ismail, Muhaimin Hasbollah and Simba Anda.
محمد لازم چيءقوب
ผมไม่ใช่เซียนกริช กริชฆูรู
ในงานกริชาภรณ์ที่เพิ่งผ่านมา มีคนมาถามผมถึงวิวัฒนาการของกริช ความต่างของกริชมลายูพุทธหรือกริชมลายูก่อนอิสลามกับกริชมลายูในปัจจุบัน เป็นคำถามที่ลึกยากเกินอธิบาย หากวันนั้นมีเซียนกริชนั่งฟังอยู่ด้วย ผมคงไม่ต้องตอบเอง เหลียวซ้ายแลขวา บังเอิญไม่มีใครสักคน ผมตัดสินใจตอบเอง
ผมเลยอธิบายไปว่ารูปทรงของกริชแต่ละชนิดยังคงเดิม จะต่างกันก็ในส่วนของรายละเอียดโดยเฉพาะส่วนที่เป็นงานแกะสลักด้ามกริชและซองกริช หลังจากเป็นอิสลาม รายละเอียดของงานที่ส่อถึงการเคารพบูชาเทวดาฟ้าดิน อันจะนำซึ่งการตั้งภาคีต่ออัลเลาะห์ จะต้องไม่มี คนตั้งคำถามฟังแล้วงง เกาหัวแกร้กๆ เพราะโดยพึ้นฐานทางความเชื่อที่ต่างกันมาก ทำให้ยากที่จะเข้าใจเข้าถึงเรื่องการเป็นภาคีที่อิสลามได้เน้น ในขณะที่ในสังคมอื่นๆความเชื่ออื่นๆ ในบางคนยังมีการผสมผสานในหลายความศรัทธาเข้าด้วยกันในตัวบุคคล ปนเปจนเกือบจะเป็นศาสนาไหม่
ผมเลยต้องตั้งหลักไหม่ เอาสิ่งที่เป็นรูปธรรมสัมผัสได้มาอธิบาย คงจะเข้าใจได้ง่ายกว่า เอางี้ล่ะกัน ง่ายๆ เจ้าโลกของทุกคนเปรียบเสมือนกริช มีอะไรๆที่คล้ายๆกันมาก พอเป็นอิสลามก็ต้องมามาโซ้ะยาวี เฉือนรายละเอียดส่วนนั้นออกไป เข้าใจมั้ยครับ? คนถามยิ้มๆพร้อมกับผงกหัวแล้วก็เดินไปดูซุ้มอื่นๆ
ยืนดูดาบเมืองคอน
ทำให้นึกถึงบทกวีของศรีปราชญ์
ธรณีนี่นี้ เป็นพยาน
เราก็ศิษย์มีอาจารย์ หนึ่งบ้าง... See More — with Winai Madaree and ณรงค์ พงศ์อนันต์.
Yamada Nagamasa ialah warga Japan telah dilantik sebagai pemerintah Ligor atau nakhornsrithammarat pada tahun 1630 oleh kerajaan Ayuthya, maka pedang-pedang yang diguna pakai ketika itu di kota ligor pun berunsurkan pedang samurai
山田長政 Yamada Nagamasa; พ.ศ. 2113 — พ.ศ. 2173) เป็นซามูไรชาวญี่ปุ่น ที่เข้ามารับราชการ ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น ออกญาเสนาภิมุข ทำให้ดาบของเมืองนครในยุคนั้น มีความเป็นดาบซามูไรมากกว่าออกแนวนครๆ
ชายในภาพประกอบคือ #ออกยาแบเย็ง — with ณรงค์ พงศ์อนันต์.
With Usanee Thuwachot and Witarn Siribenjawan.
#วะรัยกานซีกิ
ผิวขาวนวล ดั่งแสง คืนจันทร์เพ็ญ
งามเนื้อเย็น ดั่งอัปสร มาเฉิดฉาย
สวยน่าชัง ดั่งนิยาย นางในหมาย
สวยทั้งกาย งามด้วยใจ น่าภิรมย์
แฮ่มมมม.....
(กวีกระท่อม)
#วะรายกันปือแตๆ
เพียงแลแล้ว เลือนลาง พาลหายจาง
เห็นเจ้านาง ลอยลิ่ว ปลิวลมผ่าน
จะคว้าจอง ครองขวัญ มิทันการณ์
โอ้นงคราญ เพียงธาตุ อากาศลม
แฮ่ม......
#ช่วงนี้ไข้ขึ้น — with Noorninela Noorraheemee Hajijama.
Wak Min, Legend pengukir Malaysia
ช่างแกะสลักไม้อันดับต้นๆของมาเลเซีย ชนะเลิศจากการแข่งขัน
มาในหลายประเทศ Muhaimin Hasbollah
นามสกุลกริชทองคำ มีแล้ว
แนะนำให้ไปจดทะเบียนนามสกุล กริชราห์มาน
หรือ อะตาบูกริชราห์มาน — with Sulfaka Atabu.
บุรุษมลายูกับการสวมผ้าซัมปิง
ซัมปิงหรือที่ชาวสามจังหวัดเรียกซือแลแน คือผ้าที่สวมทับกางเกงเมื่อบุรุษมลายูแต่งแบบครบสูตรเต็มยศ
โดยทั่วไป บุรุษที่มีภรรยา ความยาวของซัมปิงที่สวม จะยาวเลยห้วเข่า (ยกเว้นบุรุษในรัฐตรังฆานู ที่จะไม่ถือธรรมเนียมอันนี้)
ถ้าสวมซัมปิงเหนือหัวเข่า แสดงว่ายังไม่มีภรรยา
แต่บุรุษที่ปรากฏในภาพ ยืนเอียงข้างหลังบรมครูกริชรามัน
สวมซัมปิงเหนือเข่า หมายความว่าพันพรือนิ?
ต้องถามพี่สาว สุวรรณา สันเบ็นส๊บ ว่าน้าบ่าวแกยังเมียแล้วม้าย
#DNA Melayu
Rokok daun
Keris
Cincin dan permata
Belalang rusa (belalae cerik)
Burung candik, burung ketitir
( Angan-angan nak berbini 2 )
See Translation