พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
บริเวณพระราชวังบวรสถานมงคล หรือส่วนหนึ่งของที่ประทับวังหน้า ซึ่งก็คือพื้นที่พระราชวังของสมเด็จพระบวรราชเจ้าตั้งแต่รัชกาลที่
1 เป็นต้นมา
มีอาณาเขตตั้งแต่บริเวณมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ...
Bangkok National Museum is the first national museum in
Thailand. Located in Phra Nakhon Bangkok In the area of the Bowon Palace Or
part of the palace residence Which is the palace area of the royal palace since
the reign of King Rama 1, the territory from Silpakorn University, Tha Phra
Palace, Thammasat University ...
สมเด็จทั้ง ๒ พระองค์นี้ คือ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๔ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ พระนามเดิม พระองค์เจ้าจิตรเจริญ ทรงเป็นต้นราชสกุล “จิตรพงศ์” ทรงใฝ่พระทัยศึกษาค้นคว้าจนรอบรู้ เป็นเอตทัคคะทางด้านจิตรกรรม สถาปัตยกรรม อักษรศาสตร์ นาฎศาสตร์ คีตศาสตร์ ทรงเป็นเจ้าของพระนามอักษรย่อ “น.” (เรียกว่า น. เทียนสิน) ในรูปหัวใจซึ่งทรงลงไว้ในงานฝีพระหัตถ์ จนเป็นที่รู้จักกันทั่วไปทั้งในแผ่นดินสยาม และนานาชาติที่รักงานทางศิลป์ อักษร น. หมายถึง นริศ อันเป็นพระนาม และรูปหัวใจเป็นพระนามเดิม “จิตรเจริญ”
ส่วนสมเด็จอีกพระองค์หนึ่งก็คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๔ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระนามเดิม พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร ทรงเป็นต้นราชสกุล “ดิศกุล” ทรงใฝ่พระทัยค้นคว้าศึกษาจนรอบรู้ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี อักษรศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ ประเพณีและวัฒนธรรม ผลงานของพระองค์เป็นที่ยกย่องอ้างอิงในวงการศึกษาอยู่เสมอ จนได้รับสมญานามว่า “บิดาแห่งประวัติศาสตร์และโบราณคดี” ทรงเป็นเจ้าของพระนามย่อ “ดร.” และตราประจำพระองคคือรูป “เทพนม”
หนังสือ “สาส์นสมเด็จ” นี้ องค์การค้าของคุรุสภาได้เคยจัดพิมพ์มาครั้งหนึ่งแล้ว เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕ เนื่องในโอกาสที่องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ประกาศจัดงานเทิดพระเกียรติสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ฉลองวันประสูติครบ ๑๐๐ ปี และยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก จากการพิมพ์ในครั้งนั้นได้จัดแบ่งออกเป็น ๒๖ เล่ม รวมสารบาญค้นเรื่องอีก ๑ เล่มเป็น ๒๗ เล่ม เวลาได้ล่วงเลยมานาน สาส์นสมเด็จบางเล่มได้ขาดตลาดไปนานแล้วและกลายเป็นหนังสือหายาก แต่ก็ยังมีผู้ต้องการใฝ่หาอีกมาก จนต้องพิมพ์ซ้ำ แต่บางเล่มก็ยังขาดตลาดอยู่เรื่อย ๆ ประกอบกับในเวลาต่อมาทายาทได้ตรวจพบว่าได้มีสาส์นสมเด็จที่ยังไม่ได้จัดพิมพ์หลงเหลืออยู่อีก เช่น ลายพระหัตถ์โต้ตอบปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ในการจัดพิมพ์ใหม่ในวโรกาสมหามงคลนี้ คณะกรรมการดำเนินงานได้นำมารวบรวมให้เป็น “สาส์นสมเด็จ” ที่มีฉบับสมบูรณ์ยิ่งกว่าที่เคยได้จัดพิมพ์มา การจัดพิมพ์ครั้งใหม่นี้ได้ตรวจทานสอบกับต้นฉบับลายพระหัตถ์เดิมและได้พิมพ์เพื่อรักษาอักขรวิธีตามต้นฉบับ เพื่อให้เห็นวิวัฒนาการของอักษรสมัยที่ สมเด็จฯ ทั้ง ๒ พระองค์ทรงใช้ กับได้ทำเชิงอรรถและสารบาญค้นเรื่องประกอบด้วย หวังว่าจะเป็นประโยชน์ขยายความรู้กว้างขวางและสะดวกแก่การค้นคว้าได้มากกว่าเดิม
ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล
วัฒนธรรมทางภาษาในสาส์นสมเด็จ Language Culture in SAN SOMDEJ
ณัฐา ไตรเลิศ Suratthani Rajabhat University
Keywords: วัฒนธรรมทางภาษา การสัมผัสภาษา คำยืมภาษาอังกฤษ สาส์นสมเด็จ Language Culture, Language touching, English loan words, San Somdej
Abstract
บทความ วิชาการนี้เสนอให้เห็นวัฒนธรรมทางภาษา ในลักษณะของการแปรเปลี่ยนภาษาที่ปรากฏในพระนิพนธ์เรื่องสาส์นสมเด็จกระทั่งถึงปัจจุบัน และการสัมผัสภาษาที่มีผลต่อการยืมคำภาษาอังกฤษในพระนิพนธ์เรื่องสาส์นสมเด็จ ผลการศึกษาพบว่า การแปรเปลี่ยนภาษาปรากฏทั้ง การใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตในคำที่ยืมมาจากภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต การเพิ่มรูปและลดรูปคำที่ประวิสรรชนีย์ การไม่ใช้ไม้ไต่คู้ในคำที่ใช้ในปัจจุบัน และมีการใช้คำที่เขียนตามการออกเสียง ทั้งนี้เพื่อให้ง่ายในการสะกดคำ ส่วนการสัมผัสภาษานั้นพบว่า การสัมผัสภาษาด้วยวิธีการยืมคำนั้น มีการยืมคำมาใช้ในวิธีที่หลากหลายทั้งการทับศัพท์ การยืมคำภาษาอังกฤษมาใช้โดยเขียนภาษาเดิมปนกับข้อความในภาษาไทย และในขณะเดียวกันก็มีการแปลคำศัพท์เป็นภาษาไทย การแปลปนกับคำทับศัพท์ การแปลคำศัพท์ออกมาเป็นคำภาษาไทย และการตัดพยางค์ให้สั้นลง และเมื่อนำมาใช้แล้วก็มีการเปลี่ยนแปลงความหมายของคำที่ยืมมานั้นให้ตรงกับบริบทของคำในภาษาไทยอีกด้วย วัฒนธรรมทางภาษาของสมเด็จฯ ทั้งสองพระองค์แสดงให้เห็นลักษณะการนำเอาคำเหล่านั้นมาใช้ เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะธรรมชาติของภาษาในยุคสมัยนั้น
This academic paper presents about language culture in terms of language change until the present day in SAN SOMDEJ. Language touching affects English loan words in the royal writing “SAN SOMDEJ”. The result of the study shows that language changing appears in the use of thanthakhāt ( ) in Bali and Sanskrit loan words, adding and decreasing words (prawisanchanī), non-use maitaikhū ( ) in the words used today, and using words are written according to pronunciation. Those are for easy to spell words. Meanwhile, the language touching shows that they used borrows words to use in several ways such as Transliteration, borrowed English words by writing the original language with the text in Thai. At the same time, words are translated into Thai language; translation with transliteration, translated vocabulary into Thai language and syllable cut. When they use it, they changed the meaning of loan words to match Thai context. Language culture of the two princes shows the use of those words to be consistent with the nature of language in that era.
Chatchanok Dulyarat is at พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร.
ชวนเพื่อนๆ ไปชมศิลปวิทยาการ ที่ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ " สาส์นสมเด็จ " 2 เจ้าฟ้า คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ (Narisara Nuvadtivongs) สมเด็จครูช่าง และ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย งดงามมากค่ะ ไม่อยากลงรูปมาก อยากให้ไปชมด้วยสายตาตัวเองค่ะ เนื้อหาของนิทรรศการดีมากเลยค่ะ เป็นประวัติศาสตร์ที่น่าจดจำ สำหรับคนรักประวัติศาสตร์ชาติไทย
No comments:
Post a Comment