Monday, September 26, 2022

วัดศรีชุม จ.สุโขทัย Wat Si Chum Sukhothai Historical Park.

 


Sukhothai Map 




มณฑปวัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย ถ่ายเมื่อครั้งการก่อนบูรณะ ภาพถ่ายคาดว่าถ่ายเมื่อต้นรัชสมัยรัชกาลที่ 5




Phra Achana Buddha image



วัดศรีชุม  เป็นศาสนโบราณสถานแห่งหนึ่งในเขตอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ซึ่งอยู่นอกกำแพงเมืองเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยองค์ใหญ่ซึ่งมีนามว่า "พระอจนะ" องค์พระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ในมณฑป ซึ่งปัจจุบันยอดพระมณฑปได้พังทลายหมดแล้ว เหลือแต่เพียงผนังกำแพงโดยรอบ ไม่มีหลังคาปกคลุม กลายเป็นพระพุทธรูปกลางแจ้งจนถึงทุกวันนี้





คนวัยเกษียณอย่างเรา จะเลือก การเดินทางในวันธรรมดา  จึงแทบไม่มีนักท่องเที่ยว ทำให้สามารถถ่ายภาพสวยๆ มาฝากเพื่อนๆ ...การเดินทางจากกทม. ณ เวลานี้ ค่อนข้างสะดวก ใช้เวลาการเดินทางประมาณ 5.30 ชม.เท่านั้น ชิลมากค่ะ 

# รักเมืองไทย ไม่ไปไม่รู้



Located in the North zone of the Sukhothai Historical Park outside the walled city is the Wat Si Chum temple, known for its mondop with a large image of the Buddha partly visible from outside. The name of the temple translates to “temple of the Bodhi tree”. Bodhi trees are found in many temples around Thailand, because it was a Bodhi tree that the Buddha meditated under when reaching enlightenment.


An ancient stone inscription found in the mondop of the Wat Si Chum gives information about the founding of the Sukhothai Kingdom.


The 13th century temple comprises of a mondop and a viharn. The viharn or assembly hall, of which just the base and rows of pillars remain, stands in front of the mondop.









Phra Achana Buddha image
The roofless mondop building enshrines a huge Sukhothai style Buddha image named Phra Achana. The brick stuccoed image is in the Subduing Mara mudra, also known as Bhumisparsha or “calling the Earth to witness”.

The Phra Achana is the largest Buddha image in Sukhothai measuring 15 meters high and 11 meters wide. The Sukhothai style image wearing a serene facial expression occupies the total space of the mondop’s interior. At the center of the mondop is an opening diminishing in size towards the top through which the image can be seen from the outside.

Phra Achana translates to “He who is not frightened”. The image’s name is known from a stone inscription that was discovered during excavations at the Wat Si Chum. The right hand of the image is covered with gold leaf, put on there by Buddhist devotees who come to pay their respect to the Buddha. The image was restored by the Thai Fine Arts Department in the 1950’s.




"พระอจนะ" คำว่า อจนะ มีผู้ให้ความหมายพระอจนะว่าหมายถึงคำในภาษาบาลีว่า “อจละ” ซึ่งแปลว่า “ผู้ไม่หวั่นไหว มั่นคง” “ผู้ที่ควรแก่การเคารพกราบไหว้” พระอจนะเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ วัสดุปูนปั้น แกนในก่ออิฐและศิลาแลง หน้าตักกว้าง 11.30 เมตร สูง 15 เมตร องค์พระพุทธรูปมีขนาดใหญ่เต็มวิหาร ศิลปะแบบสุโขทัย







วัดศรีชุมมีการวางผังที่แปลกกว่าวัดทั่วไป ที่ใช้มณฑปที่มีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ประดิษฐานเป็นประธานของวัดเปรียบเป็นอุเทสิกเจดีย์ และมีพระวิหารต่อออกมาแบบที่เป็นที่นิยมในสมัยนั้น นักโบราณคดีให้ความเห็นว่ามณฑปพระอจนะน่าจะสร้างโดยมีคติเป็นพระคันธกุฎี คือที่ประทับของพระพุทธเจ้าในสมัยพุทธกาล

วัดนี้เป็นสถานที่พบศิลาจารึกหลักที่ 2 หรือศิลาจารึกวัดศรีชุม พูดถึงความเป็นมาของราชวงศ์พระร่วง และราชวงศ์ผาเมืองและการตั้งเมืองสุโขทัย ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญที่ยืนยันความเป็นของแท้ดั้งเดิมของจารึกหลักที่หนึ่งในคราวที่มีกรณีข้อกล่าวหาว่าจารึกหลักหนึ่งเป็นของปลอม
แผ่นหินที่แกะมาจากเจดีย์วัดมหาธาตุจารึกเป็นรูปบุคคล และรูปอาคาร เป็นหลักฐานชั้นสำคัญที่ทำให้เรารู้ว่าอาคารและบุคคลในสุโขทัยเป็นอย่างไร
วัดศรีชุมถือเป็นสัญลักษณ์ทางการท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดสุโขทัย






Thank you :Khun Chatchanok Dulyarat


No comments:

Post a Comment

Temp Song