Monday, August 26, 2019

วัดหน้าเมรุ​ วัดพระศรีสรรเพชญ์​ วัดมงคลบพิตร​ วัดไชยวัฒนา​ราม :อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา.:Ayutthaya Historical Park










วัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดแห่งเดียวในอยุธยาที่อยู่ในพระราชวังโบราณ อีกทั้งยังเป็นวัดเดียวในอยุธยาที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา และวัดพระศรีสรรเพชญ์นี่แหละที่เป็นต้นแบบของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว

วัดราชบูรณะ ในปี พ.ศ. 1967 เจ้าสามพระยาซึ่งขณะนั้นเสวยราชสมบัติเป็นสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 โปรดให้สร้างวัดราชบูรณะขึ้นในบริเวณที่ถวายพระเพลิงพระศพเจ้าอ้ายพระยาและเจ้ายี่พระยา หลังจากที่ทรงสิ้นพระชนม์เนื่องจากการช่วงชิงราชบัลลังก์ กรมศิลปากรขุดพบเครื่องทองจำนวนมากใต้กรุภายในพระปรางค์ประธาน ปัจจุบันเครื่องทองถูกเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติสามพระยา

วิหารมงคลบพิตร วัดอารามหลวงในกำแพงเมือง ทางทิศใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ พระประธานของวิหารคือพระมงคลบพิตร สันนิษฐานว่าพระมงคลบพิตรถูกสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระไชยราชา ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามได้มีการบูรณะพระมงคลบพิตรครั้งใหญ่ และพบพระโบราณจำนวนมากอยู่ที่พระอุระด้านขวาของพระมงคลบพิตร ปัจจุบันพระพุทธรูปเหล่านั้น ถูกเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ จันทรเกษม และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา

วัดหน้าพระเมรุ วัดหน้าพระเมรุมีชื่อทางการว่า ‘วัดพระเมรุราชิการามวรวิหาร’ เป็นวัดสำคัญหนึ่งเดียวในอยุธยาที่ไม่ถูกพม่าเผาทำลายเมื่อคราวเสียกรุงครั้งที่ 2 หน้าบันทำเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑยุดนาค แสดงว่าเป็นวัดพระอารามหลวง ผังวัดเปรียบโบสถ์เป็นเขาพระสุเมรุตามคติความเชื่อแบบอินเดียโบราณผสมกับแนวความเชื่อไทยพุทธช่วยกลางอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์





อุทยานประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา เป็นมรดกโลกบนพื้นที่ 3,000 ไร่ ประกอบไปด้วยวัดโบราณที่ยังคงมีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่กว่า 10 วัด เช่น วิหารมงคลบพิตร วัดพนัญเชิง ซากโบราณสถานกว่า 365 แห่ง เช่น วัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดไชยวัฒนาราม

            พระนครศรีอยุธยาเริ่มต้นขึ้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าอู่ทองทรงสถาปนาพระนครศรีอยุธยาขึ้นในปี พ.ศ. 1893 และล่มสลายลงในปี พ.ศ. 2310 เนื่องจากการเสียกรุงครั้งที่ 2 ให้กับพม่า ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 โปรดฯ ให้มีการฟื้นฟู โบราณสถานในอยุธยาขึ้น ต่อมารัชกาลที่ 5 โปรดฯ ให้พระยาโบราณราชธานินทร์ ขุดและปรับแต่งโบราณสถานในอยุธยา

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2474 กรมศิลปากรได้ประกาศให้โบราณสถาน 69 แห่งในเกาะเมืองอยุธยาเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ จากนั้นในปี พ.ศ. 2519 มีการจัดทำโครงการอุทยานประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยาขึ้น เพื่อกรมศิลปากรจะได้เข้าไปขุดค้นและบูรณะโบราณสถานเหล่านั้น รวมพื้นที่ขณะนั้น 1,810 ไร่ ประกอบไปด้วย พระราชวังโบราณวัด, พระศรีสรรเพชญ์, วัดมหาธาตุ, วัดราชบูรณะ, วัดพระราม และวิหารมงคลบพิตร

หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2534 อุทยานประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกพร้อมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร

ในปี พ.ศ. 2540 กรมศิลปากรได้ประกาศเพิ่มเนื้อที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ปัจจุบันอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยามีเนื้อที่ทั้งหมด 3,000 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่โบราณสถานต่างๆ อาทิ พระราชวังจันทรเกษม กำแพงป้อมปราการกรุงเก่า วัดใหญ่ชัยมงคล วัดไชยวัฒนาราม วัดพนัญเชิง วัดกษัตราธิราชวรวิหาร หมู่บ้านโปรตุเกส หมู่บ้านฮอลันดา หมู่บ้านญี่ปุ่น เพนียดคล้องช้าง โบสถ์นักบุญยอเซฟ วัดพุทไธศวรรย์ วัดหน้าพระเมรุ













วัดชัยวัฒนาราม เป็นวัดหลวงที่บำเพ็ญพระราชกุศลและที่ถวายพระเพลิงเจ้านายทุกพระองค์ แม้แต่พระอัฐิเจ้าฟ้ากุ้งก็ถูกเก็บรักษาไว้ที่นี่ วัดเดียวที่สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงชัยชนะเหนืออาณาจักรขอม ผังวัดจำลองมาจากนครวัด และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เมื่อปี พ.ศ. 2535

วัดชัยวัฒนารามหรือวัดไชยวัฒนาราม สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2173 พระเจ้าประสาททองทรงดำริสร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นพระราชกุศลแด่พระราชมารดา เพราะที่แห่งนี้เคยเป็นที่ประทับของพระราชมารดามาก่อน อย่างไรก็ดีนักวิชาการหลายท่านกลับเห็นว่ามีโอกาสเป็นไปได้สูงที่วัดชัยวัฒนารามจะถูกสร้างขึ้นเพื่อรำลึกว่าครั้งหนึ่งอยุธยาเคยกำชัยชนะเหนือเมืองละแวก เมืองหลวงของอาณาจักรเขมร เพราะ

วัดชัยวัฒนารามจำลองรูปแบบมาจากนครวัด
เดิมวัดชัยวัฒนารามมีชื่อว่าวัดชัยชนะอารามเมืองละแวกถูกพระเนรศวรมหาราช พระปิตุลา (ลุง) ของพระเจ้าปราสาททองตีแตกในปี พ.ศ. 2136 จนสมเด็จพระสัตถากษัตริย์เขมรต้องหนีไปอยู่ล้านช้าง กระทั่งสมเด็จพระรามเชิงไพรรวบรวมคนขับไล่ทัพสยาม สมเด็จพระเนรศวรทรงส่งพระมหามนตรีไปทำศึกแต่พ่ายแพ้ เป็นเหตุให้เขมรประกาศอิสรภาพอีกครั้งในปี พ.ศ. 2138
พระเจ้าปราสาททองทรงเคยรับราชการในตำแหน่งเจ้าพระยากลาโหม จึงเป็นไปได้ว่าจะทรงภูมิใจกับการที่อยุธยามีชัยเหนือเขมรในครั้งนั้น
นับแต่สร้างวัดขึ้นมา วัดชัยวัฒนารามก็เป็นสถานที่บำเพ็ญกุศลของกษัตริย์ทุกพระองค์และเป็นสถานที่ถวายพระเพลิงกษัตริย์ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์อีกด้วย นอกจากนี้วัดชัยวัฒนารามยังมีอีกหนึ่งความสำคัญคือ วัดแห่งนี้เป็นที่มาของพระนามสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง แต่เดิมเมื่อครั้งขึ้นเสวยราชสมบัติ พระองค์ท่านทรงเฉลิมพระนามว่า  สมเด็จพระเอกาทศรถอิศวรบรมนาถบรมบพิตร (พระนามเดียวกับพระราชบิดา) แต่หลังจากที่สร้างวัดชัยวัฒนารามแล้ว เนื่องจากยอดของปรางค์ประธานเปรียบเสมือนที่สถิตของปราสาทไพชยนต์วิมานตามคติความเชื่อแบบขอม อีกทั้งยังปิดทองทั่วทั้งองค์ ผู้คนจึงเรียกปรางค์ประธานของวัดชัยวัฒนารามว่า ‘’ปราสาททอง” และเรียกพระเจ้าอยู่หัวผู้โปรดให้สร้างปราสาททองนี้ว่าสมเด็จพระเจ้าปราสาททองด้วย

วัดไชยวัฒนารามเป็นหนึ่งในวัดที่ถูกเผาทำลายเมื่อครั้งเสียกรุงครั้งที่ 2 ต่อมาเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2474 วัดชัยวัฒนารามได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ และในวันที่  13 ธันวาคม พ.ศ. 2535 วัดชัยวัฒนาราม ก็ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก







 








           วิหารพระมงคลบพิตร ตั้งอยู่ที่ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทางทิศใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ มีจุดเด่นที่สำคัญคือ เป็นวิหารเก่าแก่ในเขตกำแพงเมือง ที่ได้รับการบูรณะอย่างดี ภายในวิหารมีพระมงคลบพิตร พระพุทธรูปประธานขนาดใหญ่ที่เสียหายตั้งแต่เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง แต่ได้รับการบูรณะใหม่ทั้งหมด ด้วยทองสำริดหุ้มทองตามปัจจุบัน









































วัดมหาธาตุ เป็นปูชนียสถาน วัดพระอารามหลวงที่ประทับสมเด็จพระสังฆราชฝ่ายคามวาสี โดดเด่นด้วยพระปรางประธานบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พร้อมพระปรางค์ขนาดกลางเรียงราย และไฮไลท์ของวัดที่นักท่องเที่ยวจะพลาดไม่ได้ คือ เศียรพระพุทธรูปที่ถูกโอบล้อมด้วยรากโพ

วัดมหาธาตุเป็นหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 1917 สมัยขุนหลวงพระงั่ว หรือสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 และมาสร้างแล้วเสร็จในสมัยสมเด็จพระราเมศวร ในปี พ.ศ. 1927 สมเด็จพระราเมศวรทรงอัญเชิญพระบรมสารีรกธาตุไปบรรจุไว้ในพระปรางค์ประธาน

วัดมหาธาตุเป็นวัดพระอารามหลวงและเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชฝ่ายคามวาสีมีตำหนักของท่านอยู่ทางทิศตะวันตก วัดมหาธาตุเป็นวัดที่ใช้ประกอบพระราชพิธีทางศาสนาต่างๆ กระทั่งมีการสร้างวัดพระศรีสรรเพชญ์ขึ้น จึงได้ย้ายไปประกอบพิธีกรรมที่วัดพระศรีสรรเพชญ์แทน

ลักษณะเด่นของวัดมหาธาตุคือมีวิหารขนาดใหญ่อยู่ด้านหน้าของวัด พระปรางค์ประธานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุอยู่ตรงกลาง ส่วนอุโบสถอยู่ด้านหลัง โดยพระปรางค์ประธานจะเปรียบเสมือนเขาพระสุเมรุ ซึ่งแตกต่างจากวัดในสมัยรัตนโกสินทร์ที่จะเปรียบโบสถ์เสมือนเป็นเขาพระสุเมรุ นอกจากนี้แทนที่จะมีกำแพงแก้วรอบโบสถ์กลับมีวิหารคดรอบองค์พระปรางค์ประธานแทน

























วัดหน้าพระเมรุ ตั้งอยู่ที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ริมคลองสระบัวด้านเหนือของคูเมือง (แม่น้ำลพบุรีเก่า) ตรงข้ามกับพระราชวังหลวง มีชื่อเดิมว่า "วัดพระเมรุราชการาม" แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างในสมัยใด พิจารณาได้ว่า น่าจะเป็นวัดสร้างขึ้นตรงที่ถวายพระเพลิงกษัตริย์องค์ใดองค์หนึ่ง ในต้นสมัยอยุธยา เป็นวัดเดียวในกรุงศรีอยุธยาที่ไม่ถูกพม่าทำลาย และยังคงสภาพที่ดีมาก เพราะพม่าได้ไปตั้งกองบัญชาการอยู่ที่วัดนี้ พระอุโบสถเป็นแบบอยุธยาซึ่งมีเสาอยู่ภายใน แต่น่าจะมาเพิ่มเสารับชายคาที่หลังในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระประธานในอุโบสถซึ่งสร้างปลายสมัยอยุธยา เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องหล่อสำริดขนาดใหญ่ที่สุดที่ปรากฏและมีความงดงามมาก ด้านหลังพระอุโบสถยังมีอีกองค์หนึ่งแต่เล็กกว่า คือ พระศรีอริยเมตไตรย์

สิ่งสำคัญที่ปรากฏภายในวัดนี้ คือ พระอุโบสถและพระพุทธรูปประธานทรงเครื่องใหญ่ ซึ่งคงสร้างขึ้นราวรัชกาลของพระเจ้าปราททอง หน้าบันของพระอุโบสถเป็นไม้แกะสลักปิดทองที่แสดงรูปพระนารายณ์ทรงครุฑแวดล้อมด้วยเหล่าเทวดา คติดังกล่าวเป็นที่นิยมในสมัยโบราณที่ถือว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพ คือเป็นพระนารายณ์อวตาร ดังนั้น หน้าบันของโบสถ์ วิหาร หรือปราสาทราชวังที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างหรือทรงบูรณะก็มักจะทำรูปพระนารายณ์ทรงครุฑเป็นสำคัญ อันมีความหมายว่าวัดแห่งนี้เป็นวัดหลวง

ข้างๆ พระอุโบสถวัดหน้าพระเมรุ ยังมีวิหารน้อยหรือวิหารเขียน ซึ่งมีภาพจิตรกรรมเล่าเรื่องการค้าสำเภาและพุทธชาดกต่าง ๆ แล้วยังมีพระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาทสมัยทวารวดีขนาดใหญ่ สลักจากหินปูนสีเขียวแก่ เรียกว่า "หลวงพ่อคันธารราฐ" ซึ่งมีอยู่ไม่กี่องค์ในเมืองไทยเวลานี้ ความเก่าแก่นั้นกล่าวได้ว่าเก่าแก่สมัยสุโขทัย ไล่เลี่ยกับยุคสมัยของบูโรพุทโธ หรือบรมพุทโธ บนเกาะชวาในอินโดนีเซียเมื่อกว่า 1,000 ปีมาแล้ว

















Thank you : A . Lek Wara Id



Sunday, August 4, 2019

Wat Ched Yod วัดเจ็ดยอด เชียงใหม่
















Let me tell you briefly about history of Wat Chet Yod temple. The full name of this temple is Wat Potharammahavihara. Phra jao Tilokarat, the 11th king of Mengrai dynasty, ordered people to build a temple with red clay mixed with stucco but it is strange and interesting that the pattern of the flower comes from Chinese patterns.

We tried to do research about when the temple was built. Wat Chet Yod temple was constructed to look like the Bodhgaya temple in India. The pagoda has the style of Siklala or seven spires.





เกี่ยวกับประวัติวัดเจ็ดยอดแบบสั้นๆ ชื่อเต็มของวัดคือวัดโพธารามมหาวิหารซึ่งพระเจ้าติโลกราชซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่11 แห่งราชวงค์เม็งรายทรงมีรับสั่งให้สร้างวัดที่มีดินเหนียวแดงและปูนปั้น แต่เป็นที่น่าแปลกและน่าสนใจที่ว่าลายของดอกล้านนา เป็นลวดลายปนจีน เราพยายามค้นคว้าว่าวัดถูกสร้างขึ้นเมื่อไหร่ วัดเจ็ดยอดถูกสร้างให้เหมือนกับวัดพุทธคยาในประเทศอินเดีย องค์เจดีย์จะเป็นรูปแบบของศิขระหรือเจ็ดยอด















เป็นครั้งแรกที่อาจกล่าวได้ว่า ดิฉันมีโอกาสที่จะถ่ายรูปวัดเจ็ดยอด อย่างที่ อยากให้ ผู้สนใจได้เห็น 

อาจจะเป็นเพราะอากาศดี  ท้องฟ้าสดใส หรือเป็นเวลา ที่่  วัดตัดหญ้าบริเวณรอบๆ อาณาบริเวณ ให้สวยสดใส 

หลายๆครั้ง ที่ต้องกลับมาถ่ายรูปเพิ่ม อีกหลายครั้ง  แต่ครั้งนี้ เราจะเห็น ภาพวันเดียวกัน ของวันที่2 สิงหาคม 2562 





































I used to write about Wat Ched Yod Temple and Vihara Wannee, one of the important royal monasteries in Chiang Mai Province, during my time as a guest lecturer for monk students who studied Political Science at Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Chiang Mai campus.

At that time, I had an interview with a remarkable lecturer and artist, Kriengkrai Muangmool, who won awards from Thai art competitions seven consecutive times from many organizations that support all kinds of art. 

For the latest meeting, he invited me again to meet at Vihara Wannee to ask him about the progress of his project after the period of 18 years. He said that September 11th, 2001 was the first day he took on the project to paint the wall murals in Vihara Wannee.

This year 2019 I am enthusiastic about painting again and wish to see the in-progress Lanna style art. This would be a great opportunity for me to get some ideas on how to improve my own work as well as to know about his outlook on his current work in more detail. This time I would take some photos to show the progress of murals in Vihara Wannee. I must say, in terms of beauty, these murals are on par with many other mural paintings in well-known temples.



ดิฉันเคยเขียนเกี่ยวกับวิหารวรรณีในวัดเจ็ดยอดที่เป็นหนึ่งในพระอารามหลวงสำคัญในจังหวัดเชียงใหม่ ในตอนที่ดิฉันเป็นอาจารย์พิเศษให้กับนักศึกษาพระที่ เรียนวิชารัฐศาสตร์ มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ในตอนนั้น ดิฉันได้สัมภาษณ์อาจารย์และศิลปินท่านหนึ่งคืออาจารย์เกรียงไกร เมืองมูลที่ได้รับ รางวัลจากการแข่งขันทางศิลปะ 7 ปีซ้อนจากหลายๆ องค์กรที่สนับสนุนงานศิลปะในประเทศไทย

ในการพบกันครั้งล่าสุด ดิฉันได้รับคำเชิญจากอาจารย์เกรียงไกรมาอีกครั้งหนึ่งให้มา พบกันที่วิหาร วรรณีเพื่อสอบถามเกี่ยวกับความก้าวหน้าของโครงการหลังจากเวลา 

ผ่านไปแล้ว 18 ปี อาจารย์เกรียงไกรเคยกล่าวว่า วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2544 เป็น วันแรกที่เขาเข้ามารับทำโครงการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังในวิหาร วรรณีแห่งนี้เวลานี้ พ.ศ. 2562 ดิฉันรู้สึกกระตือรือร้นอยากวาดภาพอีกครั้งและอยากเห็นงาน ศิลปะรูปแบบล้านนาที่กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ น่าจะเป็นโอกาสที่ดีสำหรับ ดิฉันที่ได้แนวคิดในการปรับปรุงงานเขียนบทความ ของตนเองและได้ทราบเกี่ยวกับ ความคิดเห็นของอาจารย์เกรียงไกรเกี่ยวกับผลงานในปัจจุบัน ด้วยรายละเอียดที่มาก กว่าเดิม ในครั้งนี้ดิฉันถ่ายภาพแสดงความก้าวหน้าของภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วิหาร 

วรรณี ในด้านความสวยงามแล้วดิฉันอยากกล่าวว่าภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดนี้มีความ สวยงามเทียบได้กับวัดที่มีชื่อเสียงอีกหลายแห่ง






































Kriengkrai Muangmool.

Prof. from  Rajamankala Lanna institute Chedyod campus ChiangMai THAILAND .

Working for religion is good and beneficial and I will not stop only here. I am pleased to go to paint murals or do other things for Thai temples in foreign countries. I am sure that I have extensive knowledge and experience in painting, sculpting, architecture and especially Lanna traditional arts. I would like to give something to people, society and religion as well as create great works to fulfill my dreams and goals. Money is not my priority anymore. This is my true personal happiness.

การทำงานเพื่อศาสนานั้นดีและเป็นประโยชน์แต่ผมจะไม่หยุดอยู่แต่เพียงนี้เท่านั้นผมยินดีที่จะไปเขียนผนังหรือทำอย่างอื่นให้กับวัดไทยในต่างประเทศ ผมแน่ใจว่าผมมีความรู้เชิงลึกและประสบการณ์ในเนื่องการเขียนภาพ การปั้นรูป โครงสร้างสถาปัตยกรรมและโดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปะรายละเอียดของท้องถิ่นล้านนา ผมอยากจะทำอะไรกลับคืนให้แก่สังคม ผู้คน และศาสนาและการสร้างผลงานที่ยอดเยี่ยมที่ทำให้ความฝันและเป้าหมายเป็นจริง เงินไม่ใช่สิ่งที่เป็นอันดับแรกของผมอีกต่อไปและสิ่งที่ได้ทำ.. นี่เป็นความสุขส่วนตัวที่แท้จริงของผม

















JY: What else?

KM: The importance and value of mural paintings from both temples are not only for the preservation of ancient art and techniques, but the team also wants to preserve the spirit of ancestors portrayed in the mural paintings. Looking at those paintings carefully, we can see the creativeness, beliefs, Buddhism, cultures, traditions and the way of life from Thai Lanna people in the past as well as some hidden intents in the paintings. Moreover, the artistic concepts of space, color weight, surface, structure, painting, sculpting and architecture can be clearly seen. At the present, all of these values are disappearing at a rapid rate. Modern technology is the way we can preserve such precious arts. In the past, most colors came from natural substances which are not ideal for preservation since bad weather can damage the surface of mural paintings. To rectify this, we need to take some photos and make reproduction as references, as soon as possible. To prevent some inconsistencies and incorrectness due to misunderstanding, when mural paintings are to be restored, the art restorers will see the reference before attempting to restore damaged mural paintings to the former state.





จานีน: มีอะไรที่อยากบอกกล่าวให้ทราบอีกไหม

เกรียงไกร: ความสำคัญและคุณค่าของภาพจิตรกรรมฝาผนังจากวัดทั้งสองนั้นไม่เพียง แต่เพื่อการอนุรักษ์ศิลปะและเทคนิคโบราณเท่านั้น แต่ทีมยังต้องการรักษาจิตวิญญาณของบรรพบุรุษที่แสดงในภาพจิตรกรรมฝาผนังด้วย เมื่อมองภาพเหล่านั้นอย่างรอบคอบเราจะเห็นความคิดสร้างสรรค์ ความเชื่อ พุทธศาสนาวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และวิถีชีวิตของคนล้านนาในอดีตรวมถึงความตั้งใจที่ซ่อนเร้นในภาพเขียน นอกจากนี้ยังสามารถมองเห็นแนวความคิดทางศิลปะของพื้นที่น้ำหนักสีพื้นผิวโครงสร้างการทาสีการแกะสลักและสถาปัตยกรรมได้อย่างชัดเจน ในปัจจุบันค่าเหล่านี้ทั้งหมดจะหายไปในอัตราที่รวดเร็ว เทคโนโลยีที่ทันสมัยเป็นวิธีที่เราสามารถอนุรักษ์ศิลปะล้ำค่าเช่นนี้ได้ ในอดีตสีส่วนใหญ่มาจากสารธรรมชาติที่ไม่เหมาะสำหรับการเก็บรักษา เนื่องจากสภาพอากาศไม่ดีสามารถทำลายพื้นผิวของภาพจิตรกรรมฝาผนัง ในการแก้ไขปัญหานี้เราต้องถ่ายรูปและทำสำเนาเพื่อใช้อ้างอิงโดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกันความไม่สอดคล้องและความไม่ถูกต้องเนื่องจากความเข้าใจผิดเมื่อมีการเรียกคืนภาพจิตรกรรมฝาผนังผู้บูรณะศิลปะจะเห็นการอ้างอิงก่อนที่จะพยายามเรียกคืนภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เสียหายไปสู่สภาพเหมือนเดิมในอดีต





























































JY: What about your method of operation for this project?

KM: In this study, we employ similar methods for both temples. In the initial step, we looked at the old photos of the mural paintings. Then we compared some artistic elements such as structures, color weights, drawing lines, colors and compositions. In the practical step, each of us used mobile phones to take some photos of mural paintings from both temples as references, print those images on stock photograph paper 4x6” (10x15cm) using a color inkjet printer with appropriate resolution and tabulate those photographs with pencil with a 1x1cm per square grid. After that, we prepared some wooden canvas frames in size of 50x50cm using the ancient method. For precise size, 1cm in the photograph can be scaled up to 5cm in the canvas frame in a ratio of 1:5. The reproduction step began from here until all photos and canvas frames were used completely. In the finalizing step, all of these prior steps were photographed and recorded in video clips for research purposes as well as a complete report from the beginning to the end was written for later publishing as a book.

































































































































 เจดีย์บรรจุอัฐิพระเจ้าติโลกราช วัดมหาโพธาราม(วัดเจ็ดยอด) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้ายอดเชียงราย ราชนัดดาของ


พระเจ้าติโลกราชเมื่อพ.ศ. ๒๐๕๔ เพื่อบรรจุอัฐิของพระอัยกา ด้วยวัดมหาโพธารามหรือวัดเจ็ดยอด พระเจ้าติโลกราชโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ. ๑๙๙๘


และต่อมาในปีพ.ศ. ๒๐๐๐ พระองค์ก็ได้โปรดให้ใช้วัดนี้เป็นที่ประชุมสังคยนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๘ ด้วย ลักษณะเจดีย์เป็นเจดีย์สี่เหลี่ยม เรือนธาตุยกเก็จ


เป็นมุมขนาดเล็ก มีจระนำทั้งสี่ด้าน เหนือเรือนธาตุเป็นหลังคาเอนลาด เหนือขึ้นไปเป็นชุดฐานบัวในผังกลมรองรับองค์ระฆัง ปล้องไฉนและปลี


ภายในวัดเจ็ดยอดยังมีเจดีย์ทรงปราสาทอื่นๆที่สำคัญอีกเช่น เจดีย์แปดเหลี่ยมขนาดเล็กที่เรียกว่า อนิมิสเจดีย์ สร้างขึ้นในคราวเดียวกับวิหารเจ็ดยอดสมัย


พระเจ้าติโลกราช และเจดีย์กู่พระแก่นจันทร์ที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ เจดีย์วัดโมลีโลก (วัดโลกโมฬี) ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่


ปรากฏชื่อครั้งแรกในสมัยพระเจ้ากือนา เมื่อพระองค์โปรดให้ไปอารธนาพระมหาอุทุมพรบุปผามหาสวามีจากเมืองพันให้มาเผย แพร่พระพุทธศาสนาที่เมือง


เชียงใหม่ แต่พระมหาอุทุมพรได้จัดส่งคณะสงฆ์ ๑๐ รูปมาแทน พระเจ้ากือนาโปรดให้จำพรรษาที่วัดโลก ต่อมาพ.ศ. ๒๐๗๐ ในสมัยพระเมืองแก้วโปรดให้


สร้างวิหารและเจดีย์ขึ้น และเมื่อพระเมืองเกษเกล้าถูกปลงพระชนม์เมื่อปีพ.ศ. ๒๐๘๘ ก็ได้นำอัฐิมาบรรจุไว้ที่เจดีย์นี้ด้วย ต่อมาพ.ศ. ๒๑๒๑


พระนางวิสุทธิเทวี ผู้ครองเมืองเชียงใหม่ทิวงคต ได้มาทำการถวายพระเพลิงและบรรจุอัฐิไว้ที่วัดนี้เช่นกัน เจดีย์วัดโมลีโลกลักษณะเป็นเจดีย์ขนาดใหญ่


ฐานสี่เหลี่ยมซ้อนสามชั้น เหนือขึ้นไปเป็นฐานบัวลูกแก้วอกไก่รองรับเรือนธาตุสี่เหลี่ยม มีจระนำทั้งสี่ด้าน เรือนธาตุมีมุมขนาดเล็กๆหลายมุม ที่ผนังมี


รูปเทวดาปูนปั้นประดับด้านละสององค์ เหนือเรือนธาตุเป็นชุดชั้นหลังคา รองรับองค์ระฆังสิบสองเหลี่ยม























































































































The face of the angel statue is normal. No laughter or anger. Many faces, hands, legs including flower and leaf patterns were lost. 

 ใบหน้าของเทวดานั้นเรียบเฉย ไม่ยิ้มแย้มและ
ไม่ทำหน้าโกรธ ใบหน้า แขน ขา รวมทั้งลายดอกไม้ใบไม้ก็เสียหายไปหมด









































Temp Song