From Amari Rincome
Nimmanhemin Road
CMU.on the right & Left
Behind the faculty of Engineering |
Payom Market
The way to Wat U-Mong |
A small chapel on the way to the temple .. |
พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ลำดับที่ ๑๐ ของราชวงศ์มังราย (พ.ศ. ๑๙๙๕-๒๐๓๐) มีพระนามเดิมว่า
ท้าวลก เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๖ ของพระญาสามฝั่งแกนกับพระนาง มีพี่น้องต่างพระราชมารดา รวม ๑๐
คน เมื่อราวปี พ.ศ. ๑๙๕๓ พระราชบิดาได้ส่งไปปกครองเมืองพร้าววังหิน (ปัจจุบันคือ อำเภอพร้าว) ต่อมา
พระองค์ได้ทรงกระทำผิดอาชญาแผ่นดินพระราชบิดาจึงส่งไปปกครองเมืองยวมใต้ (ปัจจุบันอยู่ในเขต อำเภอ
ขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน) พระเจ้าติโลกราชได้ร่วมมือกับขุนนางชื่อ สามเด็กย้อย ทำการยึดอำนาจจากพระ
ราชบิดาและส่งพระราชบิดาไปอยู่ที่เมืองสาด หัวเมืองเหนือของเมืองเชียงใหม่ พระเจ้าติโลกราชทรงเป็น
กษัตริย์ครองเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. ๑๙๘๖ เมื่ออายุได้ ๓๔ พรรษา ตรงกับสมัยที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ทรงครองกรุงศรีอยุธยา
พระราชกรณียกิจ
ด้านการปกครอง
..........ทรงปฏิรูปการปกครองบ้านเมืองใหม่โดยให้ความสำคัญกับเมืองหลวงทั้งด้านการเมืองการปกครอง
ส่วนหัวเมืองแบ่งเป็นหัวเมืองราชธานีและหัวเมืองประเทศราช โดยส่งราชบุตรและเสนาบดีไปปกครอง ใน
รัชกาลนี้ได้ขยายอาณาเขตของล้านนาออกไปอย่างกว้างขวางถึงหัวเมืองไทยใหญ่ทั้งหมด
ด้านศาสนา
- ทรงอุปถัมภ์พระศาสนาและออกผนวชพระองค์ได้ชื่อว่าเป็น พระเจ้าสิริธรรมจักรพรรดิลกมหาราช
- ปี พ.ศ. ๒๐๒๐ ได้ทรงจัดให้มีการสังคายนาพระไตรปิฏกครั้งที่ ๘ ของโลกขึ้น ณ วัดโพธาราม (วัดเจ็ด
ยอด) พระองค์ทรงเป็นประธานฝ่ายฆราวาส พระธรรมทินเถระเป็นประธานฝ่ายบรรพชิต มีพระสงฆ์ที่แตก
ฉานในภาษาบาลี จำนวนกว่า ๑๐๐ รูป จากหัวเมืองต่าง ๆ ร่วมกันชำระพระไตรปิฏก เป็นเวลา ๑ ปี จึงแล้ว
เสร็จ
- โปรดให้สร้างหอเก็บพระไตรปิฏกขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งเปรียบเสมือนห้องสมุด
- ปี พ.ศ. ๒๐๒๔ ทรงอาราธนาพระแก้วมรกตจากนครลำปางมาประดิษฐาน ณ วัดเจดีย์หลวง
เชียงใหม่
- สร้างพระอุโบสถที่วัดป่าแดงเป็นหลังแรก เพื่อทำพิธีสังฆกรรมและบวชกุลบุตรชาวล้านนา
ด้านกฎหมาย
..........ทรงอาราธนาพระสงฆ์ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาคดีในศาล (กว้าน) เรียกว่า เจ้ากูลงกว้าน
กับขุนนาง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการพิจารณาและสันนิษฐานว่า ได้ทรงนำเอาพระวินัยของพระสงฆ์
มาใช้ในการปกครองด้วย เช่น พระธรรมศาสตร์ , อวหาน ๒๕ , ธรรมศาสตร์หลวง และคดีโลกคดีธรรมซึ่งได้
ปฏิบัติมาตั้งแต่ครั้งพญากือนา
....ในสมัยพระเจ้าติโลกราช ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของการศาสนาทางสงฆ์ในยุคนี้เป็นผู้มีความรู้แตกฉาน
ในพระไตรปิฎกเป็นอย่างมาก
เหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพญาติโลกราช
- เจ้าช้อย เจ้าเมืองฝางไปรับพระบิดาคือพญาสามฝั่งแกนมาไว้ที่เมืองฝาง และแข็งเมือง พญาติโลกราชส่งหมื่นหาญแตรทองนำกองทัพเชียงใหม่ตีเมืองฝางครั้งแรกไม่สำเร็จ ครั้งที่สองให้หมื่นโลกสามล้านนำทัพมาตีเมืองฝางได้ คุมตัวพญาสามฝั่งแกนไปเชียงใหม่ ส่วนเจ้าช้อยหลบหนีไปเมืองเทิงแต่ถูกตามไปสังหารสิ้นพระชนม์ในที่รบ
- หมื่นสามไขหาญ เจ้าเมืองเทิงขอสวามิภักดิ์กรุงศรีอยุธยา ขอพระบรมราขาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา)ยกทัพมาช่วยรบเชียงใหม่ แต่ทัพเชียงใหม่จับหมื่นสามไขหาญประหารชีวิตก่อนที่ทัพกรุงศีอยุธยาจะยกไป ถึง ทัพอยุธยาเข้าตีเชียงใหม่ แต่ไม่สำเร็จยกทัพกลับไป
- ตีได้เมืองน่าน พญาแก่นท้าวเจ้าเมืองน่านหนีไปพึ่งเจ้าศรีอยุธยา พญาติโลกราชตั้งท้าวฝ่าแสน น้องพญาแก่นท้าวครองเมืองน่านในฐานะหัวเมืองของล้านนา
- ตีได้เมืองแพร่ ให้ท้าวแม่คุณเจ้าเมืองแพร่ครองเมืองต่อไปในฐานะหัวเมืองของล้านนา
- กองทัพหลวงพระบางยกมาตีเมืองแพร่ แต่พ่ายกลับไป
- เมืองสองแควมีพญายุทิศเจียงเป็นเจ้าเมืองขอสวามิภักดิ์ พญาติโลกราชยกทัพไปเมืองสองแคว ให้หมื่นหาญนครยกทัพไปตีเมืองเชลียงแต่ถูกชาวเชลียงตีแตกพ่ายกลับมา พญาติโลกราชให้หมื่นพรานเอาทัพม้าไประดมหน้าไม้ชาวเชลียงล้มตายจำนวนมากแตก พ่ายไป
พญาติโลกราชได้ข่าวทัพล้านช้างยกมา จึงยกทัพกลับพร้อมกวาดต้อนครัวชาวสองแควกลับเชียงใหม่ ตั้งให้พญายุทิศเจียงไปครองเมืองพะเยา
- ยกทัพไปตีได้เมืองหลวงพระบางได้ตำบลเชียงคืน จับเชลยศึกจำนวนมาก
- ยกทัพไปตีเมืองเชียงรุ่ง ตีได้เมืองตุ่น เมืองลองอีกครั้งหนึ่ง ถัดมาอีกหนึ่งปียกไปตีเมืองเชียงรุ่งอีกครั้ง ตีได้เมืองวิง บ้านแจ แล้วยกทัพกลับเชียงใหม่
- พระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยาและพระอินทราชาพระโอรส ยกทัพมาเพื่อตีเชียงใหม่ โดยยกมาทางเมืองลำปาง พญาติโลกราชพร้อมทัพหัวเมืองยกออกต่อสู้ ทัพพระบรมไตรโลกนาถต้องยกทัพกลับ โดยพระอินทราชาต้องปืนที่พระพักตร์
ทัพไทยถอยไปตั้งที่เมืองสองแคว ทัพล้านนายกไปล้อมเมืองไว้ ขุนเพชรขุนรามนำทัพพระบรมไตรโลกนาถตีฝ่าวงล้อมออกได้ในเวลาเที่ยงคืน พญาติโลกราชก็เลิกทัพกลับเชียงใหม่
- พญาติโลกราชยกทัพไปตีเมืองพง ในแคว้นสิบสองพันนา แต่ทราบข่าวพระบรมไตรโลกนาถยกทัพมาตีเมืองแพร่ หมื่นด้งนครยกทัพออกไปตั้งรับ พญาติโลกราชยกทัพกลับช่วยทัพหมื่นด้งนครรบทัพอยุธยา ทัพอยุธยาถอยทัพ ทัพพญาติโลกราชยกติดตามไปถึงเมืองเชลียง พญาเชลียงยอมสวามิภักดิ์ ทรงตั้งหมื่นด้งกับหมื่นเวียงอยู่รั้งเมืองเชลียง แล้วยกทัพกลับ
- พญาเชลียงคิดเป็นกบฏ วางแผนสังหารหมื่นด้ง แต่หมื่นด้งไหวตัวได้จับพญาเชลียงมาถวายพญาติโลกราช ทรงให้ส่งไปไว้ที่เมืองหาง แล้วตั้งให้หมื่นด้งเป็นพญาครองเมืองเชลียง
- กรุงศรีอยุธยาแสดงไมตรีหลังจากที่รบกันมานานเมื่อพระบรมไตรโลกนาถ มีราชศรัทธาจะผนวช ทรงแต่งราชฑูตมาเชียงใหม่เพื่อขอพระสงฆ์ไปเผยแพร่ศาสนา พญาติโลกราชทรงแต่งพระเถระ 12 รูปไปยังกรุงศรีอยุธยา พระบรมไตรโลกนาถทรงผนวชที่วัดจุฬามณี เมืองสองแคว
- ตั้งเจ้าทองงั่วราชบุตรเป็นหมื่นงั่วครองเชียงแสนแทนเจ้าสุวรรณคำล้านนา ซึ่งถึงแก่พิราลัย หมื่นงั่วไปครองเชียงแสนแล้วสร้างพระพุทธรูปด้วยทองหนักสิบหาบ ขนานนามว่าพระเจ้าล้านทอง
- โปรดให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎก ณ วัดโพธารามมหาวิหาร นับเป็นครั้งที่ 8 ของโลก และเป็นครั้งแรกในดินแดนประเทศไทยปัจจุบัน
- โปรดให้เสริมองค์เจดีย์หลวงเพิ่มเติมให้มีส่วนสูง 40 วา ฐานกว้างด้านละ 28 วา
- โปรดให้ช่างไปถ่ายแบบเจดีย์มหาโพธิ เมืองพุกามมาสร้างเจดีย์เจ็ดยอดที่วัดโพธาราม ซึ่งเป็นแบบจำลองจากเจดีย์พุทธคยา ประเทศอินเดีย
- ทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตจากเมืองลำปางมาประดิษฐานที่วัดเจดีย์หลวง
|
The scenery of ChiangMai when we look down the hills |
On the way back..