Sunday, September 12, 2010

Wat Cham Dhevi Lamphun THAILAND

 



                          Wiki pedia

เมื่อปี พ.ศ. 1298 พระนางจามเทวีนำช่างละโว้ (ปัจจุบันคือ จังหวัดลพบุรี) ไปสร้างพระเจดีย์สุวรรณจังโกฎ เป็นพระเจดีย์สี่เหลี่ยมแบบพุทธคยาในประเทศอินเดีย ทุก ๆ ด้านมีพระพุทธรูปยืนปางประทานพรศิลปกรรมของลพบุรีมีพระพุทธรูปยืนอยู่ในซุ้มพระทั้งสี่ด้าน ด้านละ 15 องค์ รวม 60 องค์ ภายในบรรจุอัฐของพระนางจามเทวี

 

ภายในพระเจดีย์บรรจุอัฐิของพระนางจามเทวี เดิมมียอดพระเจดีย์หุ้มด้วยทองคำ

 

ปี พ.ศ. 1184 มีพระฤๅษีไปพบทารกหญิง ถูกพญานกคาบมาทิ้งไว้บนใบบัวหลวง จึงเลี้ยงดูและสอนสรรพวิทยาการต่าง ๆ ให้

 

เมื่อพระนางจามเทวี เจริญวัยได้ 13 พรรษา พระฤๅษีจึงต่อนาวายนต์พร้อมด้วยฝูงวานรเป็นบริวารลอยล่องไปตามลำน้ำ ถึงยังท่าน้ำวัดชัยมงคล

 

เมื่อพระเจ้ากรุงละโว้และพระมเหสีพบเห็น จึงได้นำกุมารีน้อยนั้นเข้าสู่พระราชวัง และตั้งให้เป็นพระราชธิดา นามว่า "จามเทวีกุมารี" และให้ศึกษาศิลปวิทยาการตำราพิชัยสงคราม และดนตรีทุกอย่าง

 

พ.ศ. 1198 พระนางจามเทวีมีพระชนม์ 14 พรรษา ได้เข้าพิธีอภิเษกสมรสกับเจ้าชายราม แห่งนครรามบุรี

 

พ.ศ. 1204 พระนามจามเทวีมีพระชนม์ 20 พรรษา เป็นกษัตรีย์วงศ์จามเทวีแห่งนครหริภุญชัย โดยพระนางเจ้าได้อัญเชิญพระแก้วขาว (พระเสตังคมณี) จากเมืองละโว้ เมื่อปี 700 ขึ้นมา เพื่อประดิษฐานเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง (ปัจจุบัน พระเสตังคมณีองค์นี้ยังประดิษฐานอยู่ที่วัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่)

 

พระนางจามเทวี มีพระโอรส 2 องค์ องค์พี่มีนามว่ามหายศ (มหันตยศ) องค์น้องมีนามว่าอินทวร (อนันตยศ) โดยพระเจ้ามหายศ ได้ขึ้นเสวยครองเมืองหริภุญชัยนคร แทนพระมารดา ส่วนพระองค์น้องพระเจ้าอินทวรไปครองเมืองเขลางค์นคร ที่มหาพรหมฤๅษี และสุพรหมฤๅษีร่วมกันสร้างขึ้นใหม่ให้พระองค์โดยเฉพาะ

 

ส่วนพระนางจามเทวีมีพระชนม์ได้ 60 พรรษา ได้สละราชสมบัติทุกอย่าง ให้พระโอรสทั้งสอง โดยพระนางออกบวชชีบำเพ็ญพรตอยู่ที่วัดจามเทวีแห่งนี้

 

พ.ศ. 1276 พระนางจามเทวีได้ปฏิบัติธรรมอยู่ในวัดแห่งนี้ พระชนม์ครบ 92 พรรษา พระนางจึงได้สิ้นพระชนม์ ซึ่งทางพระมหันตยศ และพระอนันตยศ ก็ได้จัดถวายพระเพลิงภายในวัดดังกล่าวอย่างสมพระเกียรติ และได้สร้างเจดีย์สี่เหลี่ยมบรรจุพระอัฐิของพระนางไว้ ณ ที่นี้ โดยให้ชื่อเจดีย์ว่า สุวรรณจังโกฎเจดีย์ ที่ได้เป็นต้นแบบของเจดีย์ในแถบล้านนา

 

ต่อมานานนับพันปี “สุวรรณจังโกฎเจดีย์” ชำรุดผุพัง ยอดพระเจดีย์ได้หัก และหายไป กลายเป็นวัดร้าง และชาวบ้านได้เรียกวัดนี้ว่า “วัดกู่กุด” (กู่กุด เป็นภาษาล้านนา แปลว่า เจดีย์ยอดด้วน)

 

พ.ศ. 2469 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้เสด็จเยี่ยมวัดแห่งนี้ จึงได้โปรดให้เปลี่ยนชื่อจาก วัดกู่กุด เป็น วัดจามเทวี เช่นเดิม

 

พ.ศ. 2479 เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ผู้ครองนครลำพูนได้ไปนิมนต์ท่านครูบาศรีวิชัย ช่วยบูรณะวัดจามเทวีอีกครั้งหนึ่ง นับตั้งแต่นั้นมาวัดจามเทวี ก็เจริญรุ่งเรือง

 

ส่วนรูปแบบของสถาปัตยกรรมที่ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนบนสุวรรณจังโกฎเจดีย์ ได้กลายเป็นโบราณสถาน โบราณวัตถุที่ประประเมินค่าไม่ได้

 

พระพุทธรูปปางต่าง ๆ ในแต่ละชั้นของเจดีย์แสดงให้เห็นถึงความเลื่อมใสศรัทธา และการเข้าถึงพระพุทธศาสนาของพระนางจามเทวี โดยสุวรรณจังโกฎเจดีย์เป็นต้นแบบของเจดีย์ทั้งหลาย ซึ่งบางครั้งเรียกเจดีย์ทรงนี้ว่า เจดีย์ทรงขัตติยะนารี

 

เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2525 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จมาเปิดอนุสาวรีย์พระนางจามเทวี ซึ่งตั้งอยู่บริเวณสวนสาธารณะหนองดอก ซึ่งอยู่ทางด้านทิศใต้ของตลาดหนองดอก สร้างเป็นอนุสรณ์แก่พระนางจามเทวี เป็นปฐมกกษัตริย์แห่งหริภุญชัย เป็นปราชญ์ที่มีคุณธรรม มีความสามารถ กล้าหาญ ได้นำพระพุทธศาสนาศิลปวัฒนธรรมมาเผยแพร่จนมีความรุ่งเรืองมาถึงปัจจุบัน

 

เจดีย์ทรงปราสาทยอดแบบหริภุญชัย

 

เจดีย์กู่กุด

พระสุวรรณจังโกฏเจดีย์ หรือชื่อเรียกที่รู้จักกันดีคือ เจดีย์กู่กุด หรือ เจดีย์กู่กุฎ หรือ เจดีย์มหาพล ที่เรียกกู่กุด เพราะมีส่วนยอดหลุดหรือหัก ส่วนมหาพลเป็นชื่อดีตที่ตั้งของวัดนี้ เอามาตั้งเป็นชื่อเจดีย์

 

เจดีย์ทรงปราสาทแบบหริภุญชัยองค์นี้เคยมียอด จึงเรียกทรงปราสาทยอดได้ด้วย มีลักษณะแปลกแตกต่างไปจากเจดีย์ทรงปราสาทในศิลปะล้านนาและศิลปะขอม คือ นับจากส่วนฐานทรงสี่เหลี่ยมมาเป็นเรือนธาตุทรงสี่เหลี่ยมเช่นกัน ตั้งซ้อนกันลดขนาดเป็นลำดับขึ้นไป 5 ขั้น แต่ละชั้นมีเจดีย์ประดับทิศทั้งสี่ และด้านทั้งสี่ของแต่ละชั้น มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ในซุ้มจระนำ และยอดแหลมที่หักหายคงเป็นกรวยเหลี่ยม

 

เจดีย์ทรงปราสาทแบบหริภุญชัยอีกแบบองค์ มีทรงแปดเหลี่ยม จึงนิยมเรียกตามทรงว่า เจดีย์แปดเหลี่ยม เป็นเจดีย์ขนาดเล็ก ด้านทั้งแปดของเรือนธาตุเจดีย์องค์นี้ ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนไว้ในซุ้มจระนำ เหนือเรือนธาตุเป็นหลังคาซ้อนชั้นลดหลั่นขึ้นรับทรงระฆัง เหนือขึ้นไปเป็นยอดซึ่งหักหายแล้ว เจดีย์ลักษณะนี้ได้พบแพร่หลายทางภาคกลางด้วย เช่น วัดพระแก้ว จังหวัดชัยนาท วัดพระรูป จังหวัดสุพรรณบุรี และสืบเนื่องมาจนถึงตอนต้นของกรุงศรีอยุธยา



                                                                                                              

In the year 1298, Queen Chamadevi led a craftsman Lawo (present-day Lop Buri) to build a chedi in Suwanchangkot. It is a rectangular chedi in Bodhgaya style in India. Every side has a standing Buddha image in the posture of giving blessings in the arts of Lop Buri. There are 15 Buddha images on each side, 60 Buddha images in the posture of giving blessings.


Inside the chedi contains the ashes of Phra Nang Chamadevi. Originally, the top of the chedi was covered with gold.


In 1184 B.E., a hermit went to meet a baby girl. was taken by the serpent and left on the lotus leaf therefore nurture and teach various sciences


When Queen Chamadevi grew up to 13 years old, the hermit then built a ship along with a herd of monkeys as a family and floated down the river. Arrive at Wat Chai Mongkhon Pier


when the Lord of Lawo and his wife saw therefore brought the little kumaris into the palace and gave her a royal daughter named "Chama Devi Kumari" and to study the art and science of Pichaisongkhram textbooks and all music


1198 B.E. Queen Chamadevi, 14 years old, married Prince Ram. of Nakhon Ramburi


1204 B.E.. Chamadevi lived 20 years and was a queen of the Chamadevi family of Haripunchai. The Queen has summoned the white Buddha image. (Phra Setangkamanee) from Lavo City in the year 700, came up to enshrine as a priceless Buddha image (at present, this Phra Setangkamanee is still enshrined at Wat Chiang Man. Chiang Mai Province)


Phra Nang Chamadevi had 2 sons, the elder was named Mahay (Mahatayot), and the younger was named Intaworn (Anantayot) by Phra Chao Mahayot. had reigned over Hariphunchai Nakhon instead of his mother, while His Highness Prince Indaworn went to reign in Khelang Nakhon at the Brahma Hermit and the rishi together to create a new one for him especially


As for Empress Chamadevi, lived 60 years and abdicated everything. to the two sons The queen was ordained to perform asceticism at this Chamadevi Temple.


In 1276 B.E., Queen Chamadevi practiced dharma in this temple. At the age of 92 years, she died. which the way of the monk and Phra Anantayot has organized a funeral in the temple as such honor and built a square chedi containing the relics of the Queen here, giving the name of the chedi that Suwanchangkot Chedi which was a model of a chedi in the Lanna region


After a thousand years Suwan Changkot Chedi was damaged, the top of the chedi was broken and disappeared, becoming an abandoned temple. And the villagers called this temple "Wat Ku Kut" (Kukut in Lanna language means Chedi Yod Duan).


1926, Somdej Krom Phraya Damrong Rajanupap visited this temple. Therefore, please change the name from Wat Ku Kut to Wat Chamadevi as before.


1936 Prince Chak Khamkhachonsak The ruler of Lamphun has invited Kruba Sriwichai. Help restore Wat Chamadevi again. Since then, Chamadevi Temple prosperous


As for the style of architecture that is clearly visible on Suwan Changkodo Chedi. has become an ancient site Priceless antiques


Buddha images in different postures on each floor of the chedi show devotion. and access to Buddhism of Phra Nang Chamadevi by Suwan Changkot Chedi as a model of all chedi which sometimes called this chedi that Khattiyanaree chedi


On October 2, 1982, Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn Crown Prince came to open the monument of Phra Nang Chamadevi Which is located in the area of ​​Nong Dok Park which is on the south side of Nong Dok Market Built as a memorial to Queen Chamadevi was the first king of Haripunchai He is a philosopher with virtue, ability, courage, and has brought Buddhism, art and culture to propagate until the present prosperity.

Haripunchai style castle top chedi

Kukut Pagoda

Phra Suwan Changkot Chedi Also known as the Ku Kut Chedi or the Ku Kut Chedi or the Maha Phon Chedi[3] known as Ku Kut. because there is a broken or broken top]. Mahapol is the name of the former location of this temple. named after the chedi


This castle-shaped chedi in Haripunchai style used to have a peak. Therefore, it can be called the top castle as well. It has a strange appearance that is different from the castle-shaped chedi in Lanna and Khmer art, namely from the square base to the square-shaped relics as well. Stacked and reduced in order to 5 steps up, each floor has a chedi adorning the four directions. and the four sides of each floor There is a Buddha image enshrined in the arch. and the broken spire was probably a square cone.

Another castle-shaped chedi in Haripunchai style octagonal therefore popularly referred to as octagonal pagoda a small pagoda The eight sides of this chedi house enshrined standing Buddha images in the arch Above the elemental house is a cascade of roofs cascading up to receive a bell shape. above is the top which is broken This type of pagoda is widely found in the central region as well, such as Wat Phra Kaew in Chainat Province, Wat Phra Rup in Suphan Buri Province. and continued until the beginning of Ayutthaya






Photos Cr.Professor Emeritus Dr. Santi Leksukhum.












Cham Dhevi Museum Lamphun province


























No comments:

Post a Comment

Temp Song