Thursday, September 23, 2010

Wat Padeang Chiangmai Thailand, วัดป่าแดง เชียงใหม่






                                         I took this picture from Samsung L310W.


                                      .You can see the scenery of Chiangmai 5 mins from Chiangmai University 











From Amari Rincome 


Nimmanhemin Road 


CMU.on the right & Left 




Behind the faculty of Engineering 


Payom Market 




The way to Wat U-Mong 











































A small chapel on the way to the temple ..



Wat Pa Daeng or the "Monastery of the Red Forest". The name is likely derived from 
the Rosary Pea trees (Abrus precatorius) in its location.

The ruins of the monastery are located off the city island of Ayutthaya in the northern 
area at Tambon Khlong Sra Bua. The monastery could have been accessed in former 
times via an old canal called Khlong Pha Lai (see Phraya Ratchathanin's map of 1926) a 
canal running parallel with Khlong Sra Bua. Khlong Ban Pla Mo makes a bend around it.

There are traces of laterite in situ, which makes it plausible, that this monastic structure 
could date from the Early Ayutthaya period. Written sources of the Fine Arts 
Department confirm that the temples in Khlong Sra Bua area - to which Wat Pa Daeng 
belongs - are from the Early Ayutthaya Period, but of course continuously renovated 
until the Late Ayutthaya Period.

Wat Pa Daeng could also be a lineage of monks, which reached Chiangmai during the 
reign of King Sam Fang Kaen (r. 1411 - 1441) of Lan Na Thai (Million Rice Fields). 
This lineage at that time was led by the monk Medhamkara (or Nanagambhira - sources 
vary) and accompanied by two Sri Lankan monks. They resided at Wat Pa Daeng in 
Chiang Mai. By the time of King Tilokarat (r. 1442 - 1485) the Pa Daeng monks were 
appointed to key positions and received substantial support for monastic centers 
including Wat Pa Daeng, which became the lineage's center for ordination rituals. There 
were indications of strong royal support for the Pa Daeng lineage, retaining the highest 
ranking monastic appointments of the period. 

Buddhism was introduced to Chiang Tung from Chiang Mai in northern Thailand. The 
Chronicle of Wat Padaeng (Saimong Mangrai 1981) describes in detail the trip a Tai 
monk (Nanagambhira) who went to (Sri) Lanka in the purpose of establishing a new 
Buddhist order. After his re-consecration in Lanka, he went to Ayutthaya, Sukhothai, 
Chiang Mai and finally to Chiang Tung and established the Wat Padaeng monastery, 
which is still standing. 

The two sources above indicate that Pa Daeng monks came to Ayutthaya, although it is 
not confirmed as yet that Wat Pa Daeng, north of Ayutthaya, had been established by 
this sect.






พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ลำดับที่ ๑๐ ของราชวงศ์มังราย (พ.ศ. ๑๙๙๕-๒๐๓๐) มีพระนามเดิมว่า 


ท้าวลก เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๖ ของพระญาสามฝั่งแกนกับพระนาง มีพี่น้องต่างพระราชมารดา รวม ๑๐ 

คน เมื่อราวปี พ.ศ. ๑๙๕๓ พระราชบิดาได้ส่งไปปกครองเมืองพร้าววังหิน (ปัจจุบันคือ อำเภอพร้าว) ต่อมา 

พระองค์ได้ทรงกระทำผิดอาชญาแผ่นดินพระราชบิดาจึงส่งไปปกครองเมืองยวมใต้ (ปัจจุบันอยู่ในเขต อำเภอ 
ขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน) พระเจ้าติโลกราชได้ร่วมมือกับขุนนางชื่อ สามเด็กย้อย ทำการยึดอำนาจจากพระ 
ราชบิดาและส่งพระราชบิดาไปอยู่ที่เมืองสาด หัวเมืองเหนือของเมืองเชียงใหม่ พระเจ้าติโลกราชทรงเป็น 
กษัตริย์ครองเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. ๑๙๘๖ เมื่ออายุได้ ๓๔ พรรษา ตรงกับสมัยที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ 
ทรงครองกรุงศรีอยุธยา 
พระราชกรณียกิจ 

ด้านการปกครอง
..........ทรงปฏิรูปการปกครองบ้านเมืองใหม่โดยให้ความสำคัญกับเมืองหลวงทั้งด้านการเมืองการปกครอง 
ส่วนหัวเมืองแบ่งเป็นหัวเมืองราชธานีและหัวเมืองประเทศราช โดยส่งราชบุตรและเสนาบดีไปปกครอง ใน 
รัชกาลนี้ได้ขยายอาณาเขตของล้านนาออกไปอย่างกว้างขวางถึงหัวเมืองไทยใหญ่ทั้งหมด 

ด้านศาสนา
- ทรงอุปถัมภ์พระศาสนาและออกผนวชพระองค์ได้ชื่อว่าเป็น พระเจ้าสิริธรรมจักรพรรดิลกมหาราช 
- ปี พ.ศ. ๒๐๒๐ ได้ทรงจัดให้มีการสังคายนาพระไตรปิฏกครั้งที่ ๘ ของโลกขึ้น ณ วัดโพธาราม (วัดเจ็ด 
ยอด) พระองค์ทรงเป็นประธานฝ่ายฆราวาส พระธรรมทินเถระเป็นประธานฝ่ายบรรพชิต มีพระสงฆ์ที่แตก 
ฉานในภาษาบาลี จำนวนกว่า ๑๐๐ รูป จากหัวเมืองต่าง ๆ ร่วมกันชำระพระไตรปิฏก เป็นเวลา ๑ ปี จึงแล้ว 
เสร็จ 
- โปรดให้สร้างหอเก็บพระไตรปิฏกขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งเปรียบเสมือนห้องสมุด 
- ปี พ.ศ. ๒๐๒๔ ทรงอาราธนาพระแก้วมรกตจากนครลำปางมาประดิษฐาน ณ วัดเจดีย์หลวง 
เชียงใหม่ 
- สร้างพระอุโบสถที่วัดป่าแดงเป็นหลังแรก เพื่อทำพิธีสังฆกรรมและบวชกุลบุตรชาวล้านนา 

ด้านกฎหมาย

..........ทรงอาราธนาพระสงฆ์ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาคดีในศาล (กว้าน) เรียกว่า เจ้ากูลงกว้าน 
กับขุนนาง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการพิจารณาและสันนิษฐานว่า ได้ทรงนำเอาพระวินัยของพระสงฆ์ 
มาใช้ในการปกครองด้วย เช่น พระธรรมศาสตร์ , อวหาน ๒๕ , ธรรมศาสตร์หลวง และคดีโลกคดีธรรมซึ่งได้ 
ปฏิบัติมาตั้งแต่ครั้งพญากือนา 

....ในสมัยพระเจ้าติโลกราช ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของการศาสนาทางสงฆ์ในยุคนี้เป็นผู้มีความรู้แตกฉาน 
ในพระไตรปิฎกเป็นอย่างมาก


เหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพญาติโลกราช

-   เจ้าช้อย เจ้าเมืองฝางไปรับพระบิดาคือพญาสามฝั่งแกนมาไว้ที่เมืองฝาง และแข็งเมือง พญาติโลกราชส่งหมื่นหาญแตรทองนำกองทัพเชียงใหม่ตีเมืองฝางครั้งแรกไม่สำเร็จ ครั้งที่สองให้หมื่นโลกสามล้านนำทัพมาตีเมืองฝางได้ คุมตัวพญาสามฝั่งแกนไปเชียงใหม่ ส่วนเจ้าช้อยหลบหนีไปเมืองเทิงแต่ถูกตามไปสังหารสิ้นพระชนม์ในที่รบ

-   หมื่นสามไขหาญ เจ้าเมืองเทิงขอสวามิภักดิ์กรุงศรีอยุธยา ขอพระบรมราขาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา)ยกทัพมาช่วยรบเชียงใหม่ แต่ทัพเชียงใหม่จับหมื่นสามไขหาญประหารชีวิตก่อนที่ทัพกรุงศีอยุธยาจะยกไป ถึง ทัพอยุธยาเข้าตีเชียงใหม่ แต่ไม่สำเร็จยกทัพกลับไป

-   ตีได้เมืองน่าน พญาแก่นท้าวเจ้าเมืองน่านหนีไปพึ่งเจ้าศรีอยุธยา พญาติโลกราชตั้งท้าวฝ่าแสน น้องพญาแก่นท้าวครองเมืองน่านในฐานะหัวเมืองของล้านนา

-   ตีได้เมืองแพร่ ให้ท้าวแม่คุณเจ้าเมืองแพร่ครองเมืองต่อไปในฐานะหัวเมืองของล้านนา

-   กองทัพหลวงพระบางยกมาตีเมืองแพร่ แต่พ่ายกลับไป

-   เมืองสองแควมีพญายุทิศเจียงเป็นเจ้าเมืองขอสวามิภักดิ์ พญาติโลกราชยกทัพไปเมืองสองแคว ให้หมื่นหาญนครยกทัพไปตีเมืองเชลียงแต่ถูกชาวเชลียงตีแตกพ่ายกลับมา พญาติโลกราชให้หมื่นพรานเอาทัพม้าไประดมหน้าไม้ชาวเชลียงล้มตายจำนวนมากแตก พ่ายไป
พญาติโลกราชได้ข่าวทัพล้านช้างยกมา จึงยกทัพกลับพร้อมกวาดต้อนครัวชาวสองแควกลับเชียงใหม่ ตั้งให้พญายุทิศเจียงไปครองเมืองพะเยา

-   ยกทัพไปตีได้เมืองหลวงพระบางได้ตำบลเชียงคืน จับเชลยศึกจำนวนมาก

-   ยกทัพไปตีเมืองเชียงรุ่ง ตีได้เมืองตุ่น เมืองลองอีกครั้งหนึ่ง ถัดมาอีกหนึ่งปียกไปตีเมืองเชียงรุ่งอีกครั้ง ตีได้เมืองวิง บ้านแจ แล้วยกทัพกลับเชียงใหม่

-   พระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยาและพระอินทราชาพระโอรส ยกทัพมาเพื่อตีเชียงใหม่ โดยยกมาทางเมืองลำปาง พญาติโลกราชพร้อมทัพหัวเมืองยกออกต่อสู้ ทัพพระบรมไตรโลกนาถต้องยกทัพกลับ โดยพระอินทราชาต้องปืนที่พระพักตร์
ทัพไทยถอยไปตั้งที่เมืองสองแคว ทัพล้านนายกไปล้อมเมืองไว้ ขุนเพชรขุนรามนำทัพพระบรมไตรโลกนาถตีฝ่าวงล้อมออกได้ในเวลาเที่ยงคืน พญาติโลกราชก็เลิกทัพกลับเชียงใหม่

-   พญาติโลกราชยกทัพไปตีเมืองพง ในแคว้นสิบสองพันนา แต่ทราบข่าวพระบรมไตรโลกนาถยกทัพมาตีเมืองแพร่ หมื่นด้งนครยกทัพออกไปตั้งรับ พญาติโลกราชยกทัพกลับช่วยทัพหมื่นด้งนครรบทัพอยุธยา ทัพอยุธยาถอยทัพ ทัพพญาติโลกราชยกติดตามไปถึงเมืองเชลียง พญาเชลียงยอมสวามิภักดิ์ ทรงตั้งหมื่นด้งกับหมื่นเวียงอยู่รั้งเมืองเชลียง แล้วยกทัพกลับ 

-   พญาเชลียงคิดเป็นกบฏ วางแผนสังหารหมื่นด้ง แต่หมื่นด้งไหวตัวได้จับพญาเชลียงมาถวายพญาติโลกราช ทรงให้ส่งไปไว้ที่เมืองหาง แล้วตั้งให้หมื่นด้งเป็นพญาครองเมืองเชลียง

-   กรุงศรีอยุธยาแสดงไมตรีหลังจากที่รบกันมานานเมื่อพระบรมไตรโลกนาถ มีราชศรัทธาจะผนวช ทรงแต่งราชฑูตมาเชียงใหม่เพื่อขอพระสงฆ์ไปเผยแพร่ศาสนา พญาติโลกราชทรงแต่งพระเถระ 12 รูปไปยังกรุงศรีอยุธยา พระบรมไตรโลกนาถทรงผนวชที่วัดจุฬามณี เมืองสองแคว 

-   ตั้งเจ้าทองงั่วราชบุตรเป็นหมื่นงั่วครองเชียงแสนแทนเจ้าสุวรรณคำล้านนา ซึ่งถึงแก่พิราลัย หมื่นงั่วไปครองเชียงแสนแล้วสร้างพระพุทธรูปด้วยทองหนักสิบหาบ ขนานนามว่าพระเจ้าล้านทอง

-   โปรดให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎก ณ วัดโพธารามมหาวิหาร นับเป็นครั้งที่ 8 ของโลก และเป็นครั้งแรกในดินแดนประเทศไทยปัจจุบัน

-   โปรดให้เสริมองค์เจดีย์หลวงเพิ่มเติมให้มีส่วนสูง 40 วา ฐานกว้างด้านละ 28 วา

-   โปรดให้ช่างไปถ่ายแบบเจดีย์มหาโพธิ เมืองพุกามมาสร้างเจดีย์เจ็ดยอดที่วัดโพธาราม ซึ่งเป็นแบบจำลองจากเจดีย์พุทธคยา ประเทศอินเดีย

-   ทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตจากเมืองลำปางมาประดิษฐานที่วัดเจดีย์หลวง
















































































































 The scenery of ChiangMai when we look down the hills 





                                                On the way back..

No comments:

Post a Comment

Temp Song